หน่วยการเรียนที่ 1



หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 
ความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศ

ความหมายความขัดแย้ง

สงครามโลก   การแก้ไขความขัดแย้ง

สงครามเย็น

ความร่วมมือและการประสานประโยชน์



ความหมาย

                ความขัดแย้ง หรือ Conflict    มีหลายสาเหตุ อาจมาจากขัดแย้งทางผลประโยชน์   ความแตกต่างทางเชื้อชาติ  ความเชื่อ  ศาสนา ค่านิยม  ทัศนคติ  ทางการเมือง   วัฒนธรรม    ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ  ความขัดแย้งอันเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ซ่ึงอาจเป็นไปได้ทั้งในระดับประเทศและระดับสังคมโลก

               ความขัดแย้งระดับนานาชาติ ที่ผ่านมามีเหตุการณ์สำคัญคือ สงครามโลก





   สงครามโลก 

   สงครามโลกครั้งที่ 1

   สาเหตุ

1. แนวคิดชาตินิยม หมายถึง ความเป็นชาติ ที่คนในประเทศมีความผูกพันทางวัฒนธรรม การเมือง รักแผ่นดิน มีความภาคภูมิใจ มีจิตสำนึกในชาติของตน มีหลายประเทศสร้างแนวคิดชาตินิยมเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่  เช่น
          - ฝรั่งเศสแค้นเยอรมนีที่บุกมายึดแคว้นอัลซาส - ลอเรนซ์ของฝรั่งเศส  เรียกว่า                           สงครามฟรังโกปรัสเซีย  จึงต้องการเอาคืน
          - เยอรมนีต้องการสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ ให้เหมือนในอดีตสมัยพระเจ้าชาร์ลมาญ
2.  ลัทธิจักรวรรดินิยม  การใช้อิทธิพลทางทหารเข้าไปยึดครองดินแดนต่าง ๆ  นอกประเทศ และเกิดการแย่งชิงดินแดน เช่น
          - เยอรมนีกับฝรั่งเศส แย่งกันครอบครองโมร๊อกโก  ตูนีเซีย 
          - รัสเซียกับออสเตรีย-ฮังการีแย่งกันเป็นใหญ่บริเวณคาบสมุทรบอลข่าน
3. การสร้างร่วมมือเป็นพันธมิตร   ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ และมีการเตรียมทหาร อาวุธ เช่น
          -กลุ่มไตรภาคี  (Triple  Entente)  ประกอบด้วยประเทศ ฝรั่งเศส  อังกฤษ  รัสเซีย
          - กลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี  ออสเตรีย-ฮังการี  อิตาลี

4. ความไม่มั่นคงในคาบสมุทรบอลข่าน  ดินแดนในคาบสมุทรบอลข่านประกอบด้วยชนชาติหลายเผ่าพันธุ์  หลายภาษา เช่น มีเชื้อสายสลาฟ  เติร์ก  กรีก เป็นต้น  ดินแดนในคาบสมุทรบอลข่านเป็นที่สนใจของหลายชาติ เช่น ออสเตรียกับรัสเซีย
          - ออสเตรียต้องการขยายอำนาจเข้าไปในบอสเนีย  เฮอร์เซโกวินา แต่ก็ทำให้ขัดแย้งกับเซอร์เบีย
          - รัสเซียต้องการขยายอำนาจมาทางทะเลโดยผ่านคาบสมุทรบอลข่าน โดยรัสเซียถือว่าตนเป็นผู้นำของชนเผ่าสลาฟ จึงเกิดขบวนการแพนสลาฟ
           - การดิ้นรนของชนเผ่าสลาฟในเซอร์เบียซึ่งเป้นแคว้นเล็ก ๆ ได้พยายามแยกตัวออกจากอาณาจักรออตโตมัน  เซอร์เบียมีแนวคิดที่จะรวมชนเผ่าสลาฟในคาบสมุทรบอลข่าน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย  ทำให้เซอร์เบียเป็นแคว้นที่มีอิทธิพลมาก
5.   มุูลเหตุท่ีทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  เริ่มเมือวันที่ 8 มิถุนายน  ค.ศ. 1914  อาชดยุค ฟรานซิส เฟอร์ดินาน  รัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการี ถูกกาฟรินโล  ปรินซิป แห่งเซอร์เบีย ลอบปลงพระชนม์ที่เมืองเซราเจโวในแคว้นบอสเนีย   ทำให้ออสเตรีย-ฮังการีซึ่งต้องการปราบขบวนการแพนสลาฟ  ออสเตรียเรียกร้องให้เซอร์เบียส่งคนร้ายมาลงโทษ  แต่เซอร์เบียไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง    ออสเตรียไม่พอใจจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบียในวันที่ 28  กรกฏาคม 1914  ประเทศที่เป็นพันธมิตรต่่าง ๆ  จึงร่วมในสงคราม  สงครามโลกครั้งที่ 1  จึงเกิดขึ้น






            สงครามโลกถือว่าเป็นสงครามเบ็ดเสร็จ เพราะมีการทำลายล้างทุกรูปแบบ มีความเสียหาย มีผลกระทบต่อสังคมโลก

           สงครามโลกครั้งที่ 1  กับประเทศไทย
           ไทยเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในสมัยรัชกาลที่ 6  ส่งกำลังทหารไปเมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 1917  
           ผลการร่วมสงครามโลกของประเทศไทย

           1.  ไทยได้ขอแก้ไขสัญญาบาวริงซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
           2.   มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในนานาชาติ 


            ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1  
            1.  ทำให้หลายประเทศตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งและความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงร่วมมือกันจัดตั้งองค์การเพื่อรักษาสันติภาพ  คือ องค์การสันนิบาตชาติ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทและความขัดแย้งระหว่างประเทศ 
            2. ประเทศเกิดใหม่ คือ ประเทศโปแลนด์  ประเทศยูโกสลาเวีย  ประเทศออสเตรีย  ประเทศฮังการี  ประเทศเชกโกสโลวาเกีย

             สัญญาสงบศึก  ได้แก่
             สัญญาแวร์ซาย  ระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศส มีสาระ เช่น
                                        - แคว้นอัลซาส-ลอเรนซ์  คืนให้ฝรั่งเศส
                                        - แคว้นซาร์ อยู่ในอารักขาของสันนิบาตชาตเป็นเวลา 15 ปี
                                        - อาณานิคมของเยอรมนีในแอฟริกา และ แปซิฟิก อยู่ในอารักขา
ของอังกฤษ  ฝรั่งเศส  ญี่ปุ่น
                                        - ลดกำลังทหาร  จำกัดอาวุธ
                                        - เขตไรน์แลนด์ เป็นเขตปลอดทหาร
                                        - ห้ามสร้างโรงงานผลิตอาวุธ  ห้ามสร้างเรือดำน้ำ  เครื่องบิน
                                        - จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม

              สัญญาแซงต์แยร์แมง เป็นสัญญาสงบศึกของประเทศออสเตรีย
              สัญญาตริอานอง  เป็นสัญญาสงบศึกของประเทศฮังการี
              สัญญาเนยยี เป้นสัญญาสงบศึกของประเทศบัลกาเรีย
              สัญญาแซฟร์  เป็นสัญญาสงบศึกของประเทศตุรกี

 สงครามโลกครั้งที่ 2 

              สาเหตุ

               1.  ลัทธิจักรวรรดินิยม  แข่งขันการล่าอาณานิคมหรือขยายดินแดนด้วยการรุกราน ทำให้มีความแตกต่างระหว่างประเทศมี คือ มีอาณานิคม กับประเทศไม่มี คือไม่มีอาณานิคม และมีกาารรุกราน เช่น ญี่ปุ่นบุกยึดแมนจูเรียของจีน   อิตาลียึดเอธิโอเปีย  และเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์ที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแวร์ซายส์ ได้บุกดินแดนที่เสียไปในสัญญาแวร์ซายส์กลับคืนมา เช่น สุเดเต็น  เชโกสโลวาเกีย เป็นต้น
          

               2.  ชาตินิยม  เกิดจากความไม่ยุติธรรมของสัญญาแวร์ซายส์ ทำให้ฮิตเลอร์แห่งพรรคนาซี ของเยอรมนี  ได้ผนึกกำลังเป็นพันธมิตรกับอิตาลี โดยมุสโสลินีแห่งพรรคฟาสซิสและญี่ปุ่น

               3.  ความอ่อนแอของสันนิบาตชาติ ที่ไม่สามารถหยุดยั้งการรุกรานของประเทศต่าง ๆ ได้ เพราะสหรัฐอเมริกาไม่ได้เป็นสมาชิก จึงทำให้องค์การนี้ไม่เข้มแข็ง

             ชนวนสงครามโลกครั้งที่ 2  คือ  เยอรมนีบุกประเทศโปแลนด์เมื่อวันที่  1 กันยายน  1939  ทำให้อังกฤษประกาศรบกับเยอรมนีด้วย   ในระยะแรกเยอรมนีเป็นฝ่ายชนะเพราะบุกแบบสายฟ้าแลบ ทำให้สามารถยึดพ้ืนที่ที่เป็นภาคพื้นทวีปได้หมดในยุโรป ต่อไปการบุกประเทศอังกฤษ ซึ่งอังกฤษสามารถต่อต้านการโจมตีทางอากาศของเยอรมนี   ส่วนหนึ่งของกองทัพเยอรมนีได้ต่อสู้กับรัสเซีย เยอรมนีบุกแคว้นยูเครน  เมืองเคียฟ  รุกต่อไปถึงกรุงมอสโก แต่กองทัพรัสเซียสามารถต้านได้และตีกองทัพเยอรมนีกลับประเทศ

             สงครามด้านเอเซีย สืบเนื่องจากญี่ปุ่นมีความพร้อมที่จะสร้างความยิ่งใหญ่ จะเข้าไปแทนที่คนผิวขาวในเอเซีย  ทำให้ได้รัีบการต่อต้านจากกลุ่ม A B C D    คือ สหรัฐอเมริกา  อังกฤษ  จีน  เนเธอร์แลนด์  เมื่อวันท่ 7   ธันวาคม  1941    ญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพริล ในฮาวาย โดยไม่ประกาศสงครามรบกับสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศรบกับญี่ปุ่น  สงครามเอเซียมหาบูรพาจึงเกิดขึ้นในทวีปเอเซีย ในระยะแรกกองทัพญี่ปุ่นได้รับชัยชนะ สามารถบกเข้าไปในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมาเดือนพฤษภาคม 1942  สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มส่งกองทัพ  สามารถเอาชนะญี่ปุ่น  ญี่ปุ่นถอยกลับประเทศ  สหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมจำนน  แต่ญี่ปุ่นไม่ปฏิบัติตาม  สหรัฐจึงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมา  ลูกที่ สองที่เมืองนางาซากิ  ญี่ปุ่นจึงยอมจำนนในวันที่ 14   สิงหาคม  1945  ลงนามในสัญญาสงบศึกเม่ือวันที 2 กันยายน  1945  สงครามโลกจึงยุติ









                ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2

               1.  ประเทศเยอรมนี ถูกแบ่งเป็น 4  ส่วน  ให้อยู่ในความดูแลของ สหภาพโซเวียต  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  สหรัฐอเมริกา  กรุงเบอร์ลินก็เป็น 4  ส่วน เช่นกัน
               2.   ประเทศญี่ปุ่น มีสหรัฐอเมริกาเข้าไปดูแล
               3.  มีองค์การสหประชาชาติเกิดขึ้น





สงครามเย็น





                สงครามเย็น เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างผู้นำค่ายการเมืองที่ปกครองแบบประชาธิปไตยกับ คอมมิวนิสต์  เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในโลก  สงครามเย็นเริ่มใน ค.ศ. 1945 - 1991  โดยเริ่มภายหลังที่สงครามโลกครั้งที่ 2  ได้สิ้นสุดลง

                สงครามเย็นเกิดครั้งแรกในยุโรป สืบเนื่องจากระหว่างที่เกิดสงครามโลกครั้งที่  2  ที่เยอรมนีได้บุกเข้ายึกยูเครน ของสหภาพโซเวียต มีผลให้เปิดศึกกับสหภาพโซเวียต แต่ก็ถูกกองทัพแดงของรุสเซียตีถอยไปเรื่อย ๆ ในยุโรปตะวันออก หลังจากนั้นกองทัพแดงของรุสเซียก็ยึดครองยุโรปตะวันออกและเปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ คือ ประเทศโปแลนด์  ฮังการี  ยูโกสลาเวีย  แอลบาเนีย  บัลกาเรีย  โรมาเนีย  และเชโกสโลวะเกีย      เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945  หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกาได้เห็นว่าสหภาพโซเวียตได้คุกคามและขยายอิทธิพลเข้าไปในยุโรปตะวันออกและยึดครองรวมทั้งเปลี่ยนการปกครอง ทำให้ยุโรปตะวันออกกลายเป็นประเทศบริวารของคอมมิวนิสต์  สหรัฐอเมริกาจึงหวั่นเกรงว่าหากไม่เข้าไปช่วยเหลือยุโรป  อาจทำให้ยุโรปตะวันตกถูกคุกคามและกลายเป็นคอมมิวนิสต์ได้  จึงทำให้สหรัฐอเมริกา  ยุโรปตะวันตก ร่วมมือกันโดยจัดตั้งองค์การนาโต (North  Atlantic Treaty Organization : NATO) มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือและช่วยเหลือกันทางทหารโดยเฉพาะการป้องกันการรุกรานจากสหภาพโซเวียต   หลังจากนั้น สหภาพโซเวียตได้ดำเนินการตอบโต้โดยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอร์ (Warsaw Treaty Organizatuon )   ซึ่งทำให้บรรยาการการแข่งขันทางการเมือง  ความตึงเครียดเกิดขึ้น  แต่ไม่มีการทำสงครามโดยตรง  หากเน้นการสะสมอาวุธ  การโฆษณาชวนเชื่อ  การแทรกซึมบ่อนทำลาย  การประณามฝ่ายตรงข้า  การสนับสนุนทางการเงิน  ความรู้และอาวุธให้แก่ประเทศพันธมิตรของตน  รวมทั้งแข่งขันการเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก



                เหตุการณ์สำคัญที่เป็นผลจากสงครามเย็น

                ระหว่าง ค.ศ. 1945 - 1991  เป็นช่วงเวลาของสงครามเย็นที่เกิดทั่วไปทั้งในยุโรป  อาเซีย

                เหตุการณ์ในยุโรป

                เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีการต่อสู้ สืบเนื่องจากเพิ่งเสร็จสิ้นสงครามโลก แต่แข่งขันในการขยายอิทธิพล  เช่น  เริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2  จึงถูกประเทศมหาอำนาจ 4 ประเทศเข้ายึดครอง ได้แก่ ประเทศอังกฤษ  ฝรั่งเศส   สหรัฐอเมริกา  สหภาพโซเวียต แต่เมื่อมหาอำนาจ 3 ประเทศต้องการให้เยอรมนีเป็นอิสระปกครองตนเอง  แต่สหภาพโซเวียตไม่ปล่อย จึงทำให้ประเทศเยอรมนีถูกแบ่งเป็น 2   ประเทศ คือ  ประเทศ เยอรมันตะวันออก และประเทศเยอรมันตะวันตกประเทศเยอรมันตะวันออกปกครองแบบคอมมิวนิสต์  ส่วนเยอรมันตะวันตกปกครองแบบประชาธิปไตย ผลการแบ่งประเทศมีผลต่อเมืองหลวงคือกรุงเบอร์ลินก็แบ่งเป็น 2 ส่วนเช่น  ทำให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์สร้างกำแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1961

               นอกจากนี้เมื่อสหรัฐอเมริกาได้เสนอความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจเพื่อฟ้ืนฟูเศรษฐกิจของยุโรป ในแผนการมาร์แชล  ทางฝ่ายสหภาพโซเวียตได้เสนอโคมีคอน (Comecon)  เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจให้แก่ประเทศกลุ่มคอมมิวนิสต์

                เหตุการณ์ในทวีปเอเซีย
  
                ประเทศจีน

                เมื่อสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งสำนักข่าวสารคอมมิวนิสต์ (Cominform)  เพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์นั้น   ทำให้ประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ใกล้กับโซเวียต โดยเหมา เจ๋อตุง  ได้นำลัทธิคอมมิวนิสต์มาขยายในจีน และได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต  เหมา เจ๋อตุงนำกองทัพแดงเข้ายึดอำนาจ ทำให้ประธานาธิบดีเจียง ไค เช็ค  หลบหนีไปที่เกาะฟอร์โมซา  เหมา เจ๋อตุงประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ปกครองแบบคอมมิวนิสต์

                สงครามเกาหลี  

            สงครามเกาหลี  หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง แนวโน้มของการแบ่งประเทศเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อ 8 กันยายน ค.ศ. 1945  เมื่อสหรัฐเข้าควบคุมภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลี และโซเวียตเข้าควบคุมภาคเหนือ โดยใช้เส้นขนาน(ละติจูด,เส้นรุ้ง)ที่ 38 องศาเป็นเส้นแบ่ง  สงครามเกาหลีระเบิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.  1950  เมื่อเกาหลีเหนือยกทัพข้ามเส้นขนานที่ 38 องศาบุกเข้าโจมตีเกาหลีใต้ เป็นการยุติความพยายามในขณะนั้นที่จะรวมประเทศทั้งสองอย่างสันติ สงครามดำเนินไปจนมีข้อตกลงหยุดยิงเมื่อ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1953   สงครามเกาหลีถือเป็นสงครามตัวแทน

               






สงครามเวียดนาม 
       
ค.ศ 1945  โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกหลังประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส     แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในค.ศ.1954 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวาที่ประเทศสวิส   ยอมรับเอกราชของเวียดนาม   แต่สหรัฐอเมริกาและชาวเวียดนามใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์       จึงตั้งดินแดนภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ ประเทศเวียดนามใต้  เมืองหลวงคือไซ่ง่อน   ใช้เส้นละติจูดที่ 17 องศาเหนือ   เป็นเส้นแบ่งแยก    เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ที่สหรัฐอเมริกาได้ช่วยเหลือทางทหารอย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้  เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ ปลดปล่อย เวียดนามใต้จากสหรัฐอเมริกาและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน    กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปี ค.ศ.  1975   การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่     2 กรกฏาคม   ค.ศ. 1976   และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  สงครามเวียดนามถือเป็นสงครามตัวแทน เช่นกัน

                นอกจากการขยายอิทธิพลเข้าไปในประเทศต่าง ๆ แล้ว ลักษณะสงครามเย็นยังคงมีรูปแบบที่แข่งขันกัน เช่น   ด้านอวกาศ  เช่น สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมและมนุษย์ขึ้นไปในอวกาศ คือดาวเทียมสปุตนิกและมนุษย์คนแรกคือ ยูริ กาการิน   ส่วนสหรัฐอเมริกาส่ง นีล อาร์มสตรองไปสำรวจดวงจันทร์
     
               การสิ้นสุดสงครามเย็น

               สมัยครุสซอฟ แห่งสหภาพโซเวียตได้มีการเจรจากับสหรัฐอเมริกาที่จะลดความตึงเครียดด้วยการจำกัดอาวุธ จึงลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธ ปี ค.ศ. 1972 แต่ก็ยังไม่สำเร็จเพราะมีเหตุการณ์อื่นทำให้ต้องตึงเครียดอีก

                สมัยประธานาธิบดีนิกสันแห่งสหรัฐอเมริกาและประธานาธิบดีเลโอนิก เบรสเนฟ แห่งสหภาพโซเวียตได้เดินทางมาเยือนกัน เป็นครั้งแรก  เมื่อปี ค.ศ.  1973     ต่อมาสมัยประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟ แห่งสหภาพโซเวียตมีนโยบายปฏิรูปประเทศที่เรียกว่า นโยบายเปิด- ปรับ (Glasmost-Perestroika) เป็นการผ่อนปรนทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง จึงมีผลให้ประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่นการพังทลายของกำแพงเบอร์ลินเมื่อเยอรมนีได้รวมเป็นประเทศเดียวกันและปกครองแบบประชาธิปไตย  ส่วนโปแลนด์  ฮังการี  บัลกาเรีย  เชคโกสโลวะเกีย โรมาเนีย  ก็ล่มสลายเป็นการปกครองเช่นกัน

               การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรปตะวันออกมีผลกระทบต่อสาธารณรัฐต่าง ๆ ของสหภาพโซเวียต นำมาซึ่งการปราบปรามของรัฐบาล ประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ ได้ดำเนินการที่จะปฏิรูปการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจ แต่ในที่สุดก็ถูก รองประธานาธิบดีเกนาดี ยานาเยฟและคณะ เข้ามาล้มล้างอำนาจ พยายามที่จะนำประเทศเป็นคอมมิวนิสต์      นายบอริส  เยลซิล และประชาชนร่วมกันต่อต้าน จึงสามารถชนะพวกคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ  สาธารณรัฐต่าง ๆจึงได้พากันแยกตัวจากสหภาพโซเวียต  แยกออกมาเป็น 11  ประเทศ  แต่ได้ร่วมกันลงนามจัดตั้งเป็นเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States : CIS)   เมื่อไม่มีสหภาพโซเวียตแล้ว  กอร์บาชอฟจึงประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีและประกาศยุบเลิกสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 25   ธันวาคม ค.ศ. 1991   ถือว่าสิ้นสุดสงครามเย็น







                ผลประโยชน์ของรัฐ  จากหัวข้อผลประโยชน์เหล่านี้  รัฐนำไปกำหนดเป็นนโยบายบริหารประเทศด้วย  ผลประโยชน์ของรัฐ  ได้แก่
                 1.  ความอยู่รอดของชาติ   
                 2.  ความมั่นคงของชาติ
                 3.   ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของชาติ
                 4.   การอยู่ดีกินดีของประชาชน
                 5.   อุดมการณ์ของชาติ
                 6.   อำนาจของชาติ
            
                สาเหตุของความขัดแย้งมีหลายประเด็น เช่น
                 1.   ด้านการเมือง   เช่น ความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางเมือง ระหว่างสหรัฐอเมริกากับ สหภาพโซเวียต       จนนำไปสู่สถานการณ์โลกที่เรียกว่าสงครามเย็น
                 2.  ด้านเศรษฐกิจ  เนื่องจากเป็นยุคที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม จึงมีการแย่งชิดทรัพยากร เกิดการแข่งขัน  แย่งชิงผลประโยชน์  ความขัดแย้งเพื่อแย่งชิงน้ำมัน  จึงมีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้น   เช่นสงครามอ่าวเปอร์เซีย  เป็นต้น
                3.  ด้านสังคม วัฒนธรรม เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างทางศาสนา  เชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์  บางครั้งความแตกต่างที่นำไปสู่ความขัดแย้งระดับประเทศ  ส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ  เช่น 
                    - ความขัดแย้งทางศาสนา เช่น ระหว่างอิรักกับอิหร่าน ที่นับถือศาสนาอิสลามต่่างนิกาย  พวกซิกกับฮินดูในอินเดีย   ชาวคริสต์กับมุสลิมในสงครามครูเสด เป็นต้น
        
                    -  ความขัดแย้งทางเผ่าพันธุ์  เชื้อชาติ เช่น พวกเซอร์บกับสโลวีเนีย   เซอร์บกับโครแอท ในยูโกสลาเวีย     พวกทมิฬกับสิงหลในศรีลังกา   อาหรับกับอิสราเอล


การแก้ไขความขัดแย้ง

                    การแก้ไขความขัดแย้งมี  3 วิธี


   1. แบบสันติวิธี  มี 2  แนวทาง คือ ทางการทูต กับ ทางกฏหมาย
       -  ทางการทูต  ประกอบด้วย  การเจรจาโดยตรง    การเป็นคนกลาง  การมีคนกลางไกล่เกลี่ย  การสืบสวนหาข้อเท็จจริง  การประนีประนอม

      - ทางกฏหมาย  มี 2  ทาง คือ  ตั้งอนุญาโตตุลาการ  กับ การตัดสินโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

     2. แบบบีบบังคม  มี  2  วิธี คือ 
       - รีทอร์ชั่น  (Retortion)  เป็นวิธีการที่ไม่ขัดต่อกฏหมายระหว่างประเทศ  เช่น ตัดความสัมพันธ์ทางการทูต  การยกเลิกสิทธิพิเศษเกี่ยวกับภาษีศุลกากร  เป็นต้น
       -  รีไพรซอล (Reprisal)   เป็นมาตรการที่รัฐกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฏหมายระหว่างประเทศเพื่อบังคับให้ทำความตกลงกัน เช่น การละเมิดสัญญา หรือการยึดทรัพย์สิน เป็นต้น

     3.  การใช้กำลัง เป็นวิธีสุดท้ายเมื่อไม่สามารถทำตามวิธีอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วจึงใช้สงคราม 



  ท่านพุทธทาสได้กล่าวเกี่ยวกับความขัดแย้ง 


อนุญาโ









ภาพผลของความขัดแย้ง





  
จากภาพที่ดู 

                  เป็นความขัดแย้งที่รุนแรงถึงขั้นมีการต่อสู้  สู้รบ  เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เด็ก ครอบครัว  บ้าน  ที่อยู่อาศัย  การอยู่อย่างไม่ไว้วางใจ ชีวิตไร้ซึ่งความสุข

นักเรียนมีความคิดอย่างไร   เราจะมีวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างยั่งยืนทำได้อย่างไร





การแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างยั่งยืน  

                ทำได้หลายวิธี เช่น เปิดรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อทำความเข้าใจระหว่างกัน
                                               การเรียนรู้ความแตกต่างของวัฒนธรรมเพื่อได้ปฏิบัติได้เหมาะสม
                                               การให้ควาเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่าง
                                                การจัดเสวนาหรือเจรจาเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน
                                                การจัดทำสนธสัญญาเพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกัน
                                                การออกกฏหมายเพื่อใช้แก้ไขปัญหา
                                                การจัดให้มีกิจกรรมระหว่างกลุ่มที่แตกต่างทางวัฒนธรรม


การประสานประโยชน์และความร่วมมือในคริสตศตวรรษที่ 20  ถึง  ปัจจุบัน



               ในปัจจุบัน จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเพื่อการติดต่อสัมพันธ์กันตามกระแสโลกาภิวัตน์ จึงไม่มีประเทศใดที่อยู่ตามลำพังได้  แต่ละประเทศจึงจำเป็นที่จะต้องติดต่อกัน  แลกเปลี่ยนกันรวมทั้ง            การร่วมกันแก้ปัญหาด้วยการประสานประโยชน์

               การประสานประโยชน์ เป็นการตกลงร่วมกันในเรื่่องต่าง ๆ ระหว่างรัฐกับรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยง      ภัยสงคราม   ให้มีการพึ่งพาทางเศรษฐกิจ    ลดการสร้างอาวุธที่ร้ายแรง   และลดปัญหาที่เกิดจาก       ผลกระ ทบด้านสิ่งแวดล้อม   ทำให้เกิดความ มั่นคงด้าน   การเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม 


               รูปแบบของความร่วมมือ

                ความร่วมมือเพื่อประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ มีดังนี้
               
                1.  การทูต
                2.  กฏหมายระหว่างประเทศ
                3.  องค์การระหว่างประเทศ



               ผลของความร่วมมือระหว่างประเทศ

               ความร่วมมือระหว่างประเทศทำให้เกิดเป็นผลกระทบระดับโลก   คือมีสันติภาพเกิดขึ้น
               มีการยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรโลก

        

สรุป

           แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมคือการไม่ใช้อาวุธ แต่ควรใช้ปัญญา  ลดความเกลียด  ความโลภ   อคติ   พยายามหาวิธีการเจรจา  การทำความตกลง  น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่่ยั่งยืนได้ดี
แต่จะมีหรือไม่   ในโลกใบนี้   พวกเราทุกคนจึงต้องร่วมมือกันสร้างสันติภาพให้ได้




แบบทดสอบเรื่อง สงครามโลก จำนวน 20... ข้อ
วิชา สังคมศึกษา (รหัส.ส 33102.) ระดับ มัธยมศึกษาปีที่..6.
เรื่อง สงครามโลก จำนวน 20... ข้อ
โดย ครูจิระพร โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
คำสั่ง เลือก คำตอบที่ถูกต้องที่สุด


ข้อที่ 1)

ประวัติศาสตร์ยุโรปยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 - 2 เรียกว่าเป็นประวัติศาสตร์สมัยใด
   สมัยโบราณ
   สมัยกลาง
   สมัยใหม่
   สมัยปัจจุบัน

ข้อที่ 2)
ความสำคัญของอัลซาส ลอเรนซ์ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
   เป็นตลาดการค้าสำคัญของเยอรมนี
   เป็นแหล่งที่มัถ่านหิน แร่เหล็ก
   เป็นเมืองโบราณที่มีประวัติเกี่ยวกับสงครามโลก
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 3)
ดินแดนใดที่เป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
   คาบสมุทรไซนาย
   คาบสมุทรไอบีเรีย
   คาบสมุทรบอลข่าน
   คาบสมุทรอานาโตเลีย

ข้อที่ 4)
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ ข้อใด
   เยอรมนี อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี
   เยอรมนี ญี่ปุ่น รัสเซีย
   ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย
   อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย อเมริกา

ข้อที่ 5)
เพราะเหตุใดสหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
   ประกาศสงครามช่วยอังกฤษรบกับเยอรมนี
   เยอรมนียิงเรือบรรทุกสินค้าของอเมริกา
   ช่วยฝ่ายสัมพันธมิตรตามพันธสัญญา
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 6)
สัญญาที่สงบศึกในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือข้อใด
   สัญญาเนยยี
   สัญญาตริอานอง
   สัญญาแวร์ซายส์
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 7)
ข้อใดคือผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากสิ้นสุดเหตุการณ์
   ยูโกสลาเวียเป็นประเทศเกิดใหม่
   โปแลนด์เป็นประเทศเกิดใหม่
   ออสเตรียและฮังการี ถูกแยกให้เป็นประเทศ 2 ประเทศ
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 8)
องค์การสันติภาพที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ ข้อใด
   องค์การสันนิบาติขาติ
   องค์การสหประชาชาติ
   องค์การอาสา
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 9)
ผู้ที่ละเมินสัญญาแวร์ซายส์ ไม่ทำตามข้อตกลง คือใคร
   มุสโสลินี
   ฮิตเลอร์
   โตโจ
   วินสตัน เชอร์ชิล

ข้อที่ 10)
เพราะเหตุใดสหรับอเมริกาจึงไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตชาติ
   ต้องปฏิบัติตามวาทะมอนโร
   ประชาชนภายในประเทศไม่เห็นด้วย
   ต้องการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกเสร็จสุด
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 11)
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ข้อใด
   เยอรมันเป็นพันธมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน
   เยอรมันละเมิดสัญญาแวร์ซายส์
   เยอรมนีบุกประเทศโปแลนด์
   เยอรมนีถูกแบ่งเป็น 2 ประเทศ

ข้อที่ 12)
สงครามโลกครั้งที่ 2 ในเอเซีย เกี่ยวกับประเทศใด
   ญี่ปุ่นโจมตี เมืองท่าเพริล ในฮาวาย โดยไม่ได้ประกาศสงครามกับอเมริกา
   ญี่ปุ่นรบกับอเมริกา
   ญี่ปุ่นต้องการเป็นใหญ่ในเอเซียแทนที่คนผิวขาว
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 13)
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามเพราะเหตุใด
   ญี่ปุ่นโดนระเบิดปรมาณู
   ชาวญี่ปุ่นเรียกร้องให้สงบศึก
   ญี่ปุ่นไม่มีอาวุธต่อสู้แล้ว จึงยอมแพ้
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 14)
ลิตเติล บอย และ แฟต แมน เป็นชื่อของอะไร
   ระเบิดนิวเคลียร์
   เรือดำน้ำ
   รถไฟสายมรณะ
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 15)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่มีความสำคัญของโลกและเป็นผู้นำค่ายประชาธิปไตยคือข้อใด
   เยอรมนี
   สหรัฐอเมริกา
   รัสเซีย
   ฝรั่งเศส

ข้อที่ 16)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยที่สุดเพราะอะไร
   การต่อสู้ส่วนใหญ่ต่อสู้ในทวีปแอฟริกา
   อเมริกาสู้รบกับญี่ปุ่นในมหาสมุทรมากกว่าภาคพื้นทวีป
   อเมริกาส่งกำลังไปช่วยน้อยกว่าชาติอื่น ๆ
   พื้นที่การสู้รบส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรป แอฟริกา เอเซีย

ข้อที่ 17)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีองค์การสันติภาพเกิดขึ้นคือ ข้อใด
   องค์การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
   องค์การอาสา
   องค์การสันนิบาตชาติ
   องค์การสหประชาชาติ

ข้อที่ 18)
ข้อใดคือสาเหตุของสงครามเย็น
   ความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างคริสต์กับอิสลาม
   ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต
   ความขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองระหว่างประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 19)
ประเทศมหาอำนาจทั้ง 5 ในองค์การสหประชาชาติ คือ ข้อใด
   ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์
   จีน อินเดีย กรีซ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย
   เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย
   อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา จีน โซเวียต

ข้อที่ 20)
ประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่เท่าไหร่ในองค์การสหประชาชาติ
   50
   55
   60
   65






2 ความคิดเห็น:

  1. คูมือการสร้างผมทำเอาไว้ให้แล้วครับ เข้าเว็บนี้ได้เลยครับ
    https://docs.google.com/open?id=0BzFUt0WLey1EVl9TS1RFdUkzOEU

    ตอบลบ
  2. ก้าวหน้าไปเรื่อยๆแล้วครับ ต่อไปก็วมบูรณ์แบบครับ

    ตอบลบ