หน่วยการเรียนที่ 2



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 

สถานการณ์สำคัญของโลกในคริสตศตวรรษที่ 12
 
 
เหตุการณฺ์การระเบิดตึก World Trade Center
 
การขาดแคลนทรัพยากร
 
การก่อการร้าย



เหตุการณ์ระเบิดตึก  World Trade Center









ปัญหาผู้ก่อการร้ายในโลกยุคปัจจุบัน

 

ความหมาย มีผู้ให้ความหมาย ผู้ก่อการร้าย  (Terrorism)  เช่น

M.Poland  ให้ความหมายคือ  เป็นรูปแบบพฤติกรรมรุนแรง  คุกคาม ขู่เข็ญ  เพื่อคุกคามประชาชน  รัฐบาล ให้หวาดกลัว

พจนานุกรม ฉบับ อ๊อกซฟอร์ด ให้ความหมายคือ การปกครองโดยใช้ความหวาดกลัวเป็นเครื่องมือ

องค์การสหประชาชาติ ให้ความหมายว่า เป็นการกระทำที่กระทำต่อบุคคล ใช้วิธีการที่รุนแรง ใช้ชีวิตมนุษย์ที่บริสุทธิ์เป็นเครื่องมือ

องค์การตำรวจสากล ให้ความหมายว่า เป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายในการแสดงออกให้เกิดผลมากกว่าหนึ่งประเทศขึ้นไป  ให้ประเทศได้รับผลร้าย

นักกฏหมายระหว่างประเทศให้ความหมายว่า เป็นการกระทำที่ใช้กำลังบังคับ  ขู่เข็ญ มุ่งกระทำต่อฝ่ายที่สามที่บริสุทธิ์หรือไม่มีส่วนรู้เห็น

                ศุภการ   สิริไพศาลและคณะ กล่าวสรุปความเสียหายจากการก่อการร้ายสากล ว่า เป็นการสูญเสียทรัพย์สิน บุคคลสำคัญหรือผู้เชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ มีผลการกระทำต่อภาพพจน์ของประเทศ  ทำลายขวัญ  สร้างความวิตกกังวลให้แก่คนในประเทศ สร้างความหวาดกลัว

                สรุป ความหมาย ผู้ก่อการร้าย คือ เป็นการสร้างพฤติกรรมรุนแรง ใช้วิธีการที่รุนแรง ให้มีผลต่อการทำลายขวัญ ประชาชนและประเทศชาติ

 

ประเภทผู้ก่อการร้าย

 

                 จำแนกตามหลักดินแดน  สามารถแบ่งได้   3  ประเภทคือ

                     1.1  การก่อการร้ายในประเทศ  หมายถึง การต่อสู้ด้วยวิธีการรุนแรงของขบวนการก่อการร้ายภายในประเทศซึ่งมุ่งต่อต้านรัฐบาลประเทศของตน การปฏิบัติการจะกระทำเฉพาะภายในประเทศของตน ไม่กระทำข้ามประเทศและมักไม่มีการปฏิบัติการร่วมหรือการร่วมมือประสานงานในการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธกับขบวนการก่อการร้ายภายนอกประเทศ แต่อาจได้รับการสนับสนุนด้านขวัญ กำลังใจและด้านวัตถุจากภายนอกประเทศ

                          1.2  ผู้ก่อร้ายข้ามประเทศ หมายถึงการก่อการร้ายของขบวนการภายในประเทศ ปกติมักกระทำโดยขบวนการเดียวไม่มีการเชื่อมโยงการปฏิบัติการกับขบวนการก่อการร้ายภายนอกประเทศ แต่แตกต่างกันที่การก่อการร้ายข้ามประเทศมักปฏิบัติการไม่จำกัดอยู่เฉพาะภายในประเทศที่ขบวนการของตนเคลื่อนไหว เช่น ขบวนการคอมมานโดญิฮาดในอินโดนีเซีย ปล้นยึดเครื่องบินโดยสารการบินการุดาของอินโดนีเซียมายังสนามบินดอนเมืองและบีบบังคับให้รัฐบาลอินโดนีเซียปฏิบัติการตามข้อเรียกร้องของตน ขบวนการก่อการร้ายข้ามประเทศ เช่น ขบวนการแบ่งแยกดินแดนชาวซิกข์  ขบวนการแบ่งแยกดินแดนบาสก์ในสเปน เป็นต้น

                         1.3  การก่อการร้ายระหว่างประเทศหรือการก่อการร้ายสากล  หมายถึง การก่อการร้ายที่มีการร่วมมือกัน กระทำโดยขบวนการที่มีอยู่ในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สองขบวนการขึ้นไปเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมือง เช่น กองทัพแดงญี่ปุ่นร่วมมือกับขบวนการปาเลสไตน์  กลุ่มก่อการร้ายสากล  เป็นต้น

                          กลุ่มผู้ก่อการร้ายสากล มี 3 รูปแบบ คือ 1)  กลุ่มต่อต้านอาณานิคมหรือ แบ่งแยกดินแดน   เช่น กลุ่ม IRA   กลุ่มปาเลสไตน์  กลุ่ม ซิกข์ในอินเดีย       2)กลุ่มผู้ก่อการร้ายทางการเมือง  กลุ่มนี้มุ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงทางการเมือง มีวิธีการ คือ จับตัวประกัน      ได้แก่ เมื่อวันที่ 28  ธันวาคม 2515   สมาชิก กลุ่ม Black September  จำนวน 4  คน ได้บุกเข้าไปสถานทูตอิสราเอล จับตัวประกันไว้ 6 คน  เพื่อเรียกร้องต่อรองให้ประเทศอิสราเอลปล่อยตัวนักโทษขบวนการปาเลสไตน์ จำนวน 36 คน     การลักพาตัว  ได้แก่ กองพลน้อยแดงของอิตาลี ลักพาตัวอดีตประธานาธิบดีคือ นายอันโต มอโร ไปเป็นตัวประกัน  รัฐบาลอิตาลีพยายามค้นหาที่ซ่อนตัวประกัน ทางรัฐบาลอิตาลีปฏิเสธการเจรจาทุกกรณีกับผู้ก่อการร้าย  ในวันที่ 54  มีผู้ศพของนายอันโต มอโร ท้ายรถเก๋งซึ่งจอดไว้หน้าที่ว่าการพรรคคริสเตียนเดโมแครตของอิตาลี  การปล้นยานโดยสาร  เช่นเครื่องบิน  เรือยนต์  รถไฟ พร้อมกักขังผู้โดยสาร เช่น สายการบินการุดาของอินโดนีเซีย ถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายชีอะชาวอินโดนีเซียจี้จากอินโดนีเซียไปลงที่ประเทศไทย ครั้งนี้ไทยได้ร่วมมือกับอินโดนีเซียสามารถชิงตัวประกันได้สำเร็จ  การลอบวางระเบิด  เป็นสิ่งที่ผู้ก่อการร้ายนิยมมากที่สุด   การลอบสังหาร ส่วนใหญ่เป็น     ผู้นำระดับประเทศ

 

 สถานการณ์ของสหรัฐอเมริกากับตะวันออกกลางและสงครามก่อการร้าย


                ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  มีผู้ให้คำนิยามสหรัฐอเมริกาว่า ยักษ์หลับ หมายถึงเป็นประเทศที่มีศักยภาพ เช่น มีทรัพยากรธรรมชาติ  มีประชากร  เงิน  แต่ศักยภาพนำมาใช้ไม่เต็มที่  ช่วงนั้นสหรัฐอเมริกายังไม่ได้เป็นมหาอำนาจ อีกทั้งสหรัฐอเมริกาใช้         วาทะมอนโร  ที่มีความคิดจะไม่เข้าไปแทรกแซงหรือเกี่ยวข้องกับกิจการของยุโรป 
               หลังสงครามโลกครั้งที่ 2   สหรัฐอเมริกาได้พลิกผันวิถีของตนขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลก ส่วนอังกฤษ  ฝรั่งเศส  เป็นประเทศชั้นรอง    แข่งกับประเทศสหภาพโซเวียต จึงเรียกว่า สงครามเย็น แข่งขันทุกเรื่อง เช่น วิทยาศาสตร์  กีฬา  การทหาร อาวุธ การเมือง ส่งกำลังทหารเข้าแทรกแซงการเมืองในประเทศ เช่น  กรณีคิวบา  เมื่อฟิเดล  คาสโตร  ผู้นำของคิวบาที่คอมมิวนิสต์ กับประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้    สหรัฐกับโซเวียตส่งกำลังทหารเข้าไปในเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้  เวียดนามเหนือ เวียดนามใต้   สองมหาอำนาจนี้พยายามแย่งชิงความเป็นผู้นำของโลก  ครั้นสมัยมิคาอิล  กอร์บาชอฟ ได้ประกาศนโยบายกลาสนอต คือเปิดประเทศ   และนโยบายเปเรสทรอยก้า นำทุนนิยมเข้าสู่โลกคอมมิวนิสต์ในรัสเซีย  ทำให้สหภาพรัสเซียมีกำลังทางเศรษฐกิจสู้สหรัฐอเมริกา      ไม่ได้   สหภาพโซเวียตเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรปตะวันออก ส่งผลเกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต   มีการแตกแยกเป็นรัฐอิสระ  มีผลให้สหรัฐอเมริกาได้เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจทุนนิยมเพียงผู้เดียว  สหรัฐอเมริกากลายเป็น Super Power  ในยุคกระแสโลกาภิวัตน์   สหรัฐอเมริกาจึงเป็นแม่แบบทุกเรื่องที่หลายประเทศเดินตาม  สหรัฐจึงพยายามจัดระเบียบโลกใหม่  สหรัฐมักเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่าง ๆ อย่างไม่เกรงใจ จึงเป็นที่มาของปัญหาการก่อการร้ายและปัญหาอิรัก  สหรัฐอเมริกาเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาของอิสราเอลกับอาหรับ  โดยสหรัฐให้ความช่วยเหลือแก่พวกยิวมาก  สร้างความเจ็บแค้นให้แก่ปาเลสไตน์ที่ต่างรบก็แพ้อิสราเอลทุกครั้ง  เมื่อต่อสู้ไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีการแบบซุ่มโจมตีแบบกองโจร นำมาสู่การเรียกว่า การก่อการร้ายในช่วงสงครามเย็น   เช่นกรณีอิหร่าน  สมัยพระเจ้าชาห์  ซึ่งเป็นเสมือนหุ่นเชิดให้อเมริกาเข้ามามีบทบาททางการเมืองในอิหร่าน  สหรัฐอเมริกาพยายามสร้างความเป็นตะวันตกให้แก่ภูมิภาคนี้  จึงได้รับการต่อต้านจากพวกอาหรับมาก  จึงมีการต่อต้านโดยอยาตอลลา  รูอัลเลาะห์  โคมัยนี  ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ  ขับไล่พระเจ้าชาห์ได้สำเร็จ   นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาพยายามเข้าไปมีบทบาทในตะวันออกกลางซึ่งมี ทรัยพากรสำคัญคือ น้ำมัน   สหรัฐพยายามเข้าไปเพื่อจัดระเบียบให้อาหรับ  นำมาสู่การเข้าไปตั้งฐานทัพในซาอุดิอาระเบีย  คูเวต      บาเรนห์  การ์ตา  และอีกหลายประเทศ  โดยอ้างว่าเข้าไปคุ้มครองความปลอดภัยจากการบุกของอิรักและเข้าไปปลดปล่อยคูเวต   การส่งกองทัพอเมริกันเข้าไปคุ้มครองดินแดนดังกล่าวสร้างความไม่พอใจของพวกมุสลิม เพราะซาอุดิอาระเบียเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธ์ของศาสนาอิสลาม  เป็นที่ตั้งของนครเมกกะและเมดินะ  ดังนั้นชาวมุสลิมจึงมองสหรัฐอเมริกาว่าเข้ามาเพื่อหวังผลประโยชน์เรื่องน้ำมันและนำเอาทุนนิยมเข้ามาทำลายจารีตประเพณี จึงทำให้พวกอาหรับต่อต้านอเมริกา  การก่อการร้ายจึงเกิดขึ้นโดยมีกลุ่มก่อการร้ายสากลเที่เรียกว่า อัลกออิดะห์ ภายใต้การนำของอุซะมะห์ บินลาเด็น เป็นแกนกลางในการต่อสู้กับสหรัฐอเมริกา  กลุ่มนี้มีที่มั่นตั้งอยู่ในอัฟกานิสถาน มีรัฐบาลตอลีบัน สนับสนุน  บินดาเด็นได้ทำการโจมตีสหรัฐอเมริกาหลายครั้ง เช่น วางระเบิดสถานทูตอเมริกาในเคนยา  แทนซาเนีย  วางระเบิดเรือรบโคลล์     โจมตีโดยการให้เครื่องบินชนตึกเวริด เทรด เมื่อวันที่ 11  กันยาย  2001  ในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งพรรครีบับรีกัน   บุชได้ใช้สาเหตุนี้กล่าวหาว่าอิรักมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้าย  จึงกล่าวหาว่าอิรักมีอาวุธร้ายแรง อานุภาพทำลายล้างสูง ทำให้สหรัฐอเมริกาส่งกองทัพเข้ามาทำลายล้างรัฐบาลซัดดัม  ฮุสเซ็น  ท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาคมโลก  แต่สหรัฐอเมริกาได้พยายามจัดฉากชี้แจงต่อองค์การสหประชาชาติ เช่นเตรียมภาพขนย้ายขีปนาวุธ  โรงงานเคมีชีวภาพของอิรักมาแสดงต่อชาวโลก  สหรัฐพยายามกดดันให้ชาวโลกเห็นว่าอิรักเป็นประเทศอันตราย จึงให้สหประชาชาติมีมติการส่งกองกำลังเข้าไปในอิรัก  แต่การกระทำดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากฝรั่งเศส  รัสเซีย  จีน ทำให้สหประชาชาติ        ไม่สามารถออกมติเพื่อรองรับความชอบธรรมในการบุกอิรักโดยสหรัฐอเมริกาได้     แต่สหรัฐอเมริกาพยายามโดยส่งกองทัพเข้าไปอ่าวเปอร์เซียและไม่ถอยกลับ     ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากองค์การสหประชาชาติที่ถูกมองข้ามความสำคัญและหมดบทบาทลงไป นายโคฟี  อันนัม เลขาธิการสหประชาชาติถึงกับกล่าวว่า “ เป็นยุคที่มืดมนที่สุดของสหประชาชาติ นับตั้งแต่ก่อตั้งองค์การ”    
 
             ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาก็ยังไม่พบอาวุธร้ายแรงในอิรัก และยังออกมายอมรับว่า รัฐบาลซัดดัม ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับ       บินลาเด็น และกลุ่มผู้ก่อการร้ายกออิดะห์ แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังคงอ้างว่าการเข้ามาล้มล้างรัฐบาลซัดดัม เพราะซัดดัมเป็นเผด็จการ           ข่มเหงประชาชนและละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย  ใช้กำลังเข้าปราบปรามชนกลุ่มน้อย  ชาวเคริดร์ทางภาคเหนืออย่างโหด

 

จุดมุ่งหมายของการก่อการร้าย

          กลุ่มก่อการร้ายที่สำคัญ เช่น กลุ่มอัลกออิดะห์ ภายใต้การนำของ โอซามะ บินดาเดน ได้ปฏิบัติการที่รุนแรง เพื่อแสดงให้โลกเห็นและรับรู้ถึงความไม่พอใจของพวกตนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ

ผลกระทบ
         ด้านการเมือง
       จากเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินและนำเครื่องบินพุ่งชนตึกเวิร์ดเทรด  ที่กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 โดยการโจมตีแบบพลีชีพนั้น  ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศนโยบายต่อต้านลัทธิก่อการร้ายอย่างเป็นรูปธรรม อย่างแข้งกร้าวและตอบโต้อย่างรุนแรง เช่น สหรัฐอเมริกายกกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถาน     นำทหารต่อสู้ในสงครามกับอิรักโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม
          ด้านเศรษฐกิจ
         กลุ่มผู้ก่อการร้ายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น กลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ หรือ เจได   (JI)  ได้ก่อวินาศกรรมสถานบันเทิงบนเกาะบาหลี ในอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 12  ตุลาคม 2545  มีผู้เสียชีวิต 202  คน  ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก  การกระทำนี้มีผลทางเศรษฐกิจกคือ  สูญเสียทรัพยสิน  และเสียชีวิตคน  สูญเสียบรรยากาศการค้า การลงทุน และธุรกิจ
         ด้านสังคม
         การปฏิบัติของผู้ก่อการร้ายในภูมิภาคต่าง ๆ  มีผลกระทบต่อจิตใจคนส่วนมาก เช่น  มีความตึงเครียด  วิตกกังวล  หวาดกลัว  เกิดการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว
 
     
อ้างอิง

ศุภการ  สิริไพศาลและคณะ .  2553.  เหตุการณ์โลกปัจจุบัน.  สงขลา: นำศิลป์โฆษณา จำกัด.


 










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น